top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนnongbig jomza

Akira


หนังใหม่เต็มเรื่อง

รีวิว Akira - อาคิระ

หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อหรือไม่เคยเห็นอนิเมชั่นเรื่องนี้เลยด้วยซ้ำ เนื่องด้วยความเก่าและชื่อชั้นที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่อนิเมชั่นเรื่องนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในบรรทัดฐานของอนิเมชั่นญี่ปุ่นยุคนี้ อนิเมชั่นเรื่องนี้สร้างขึ้นจากหนังสือการ์ตูนเรื่องเดียวกันโดย คัทซึฮิโระ โอโตโมะ ซึ่งก็ได้กลายมาเป็นผู้กำกับ ฯ อนิเมชั่นชื่อเดียวกันนี้โดยอิงเนื้อเรื่องจากการ์ตูน อาคิระ ที่เขียนโดยตัวเขาเอง รีวิว Akira


เรื่องย่อ


เรื่องราวการผจญภัยในโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 3 แห่งนคร Neo-Tokyo เมื่อกลุ่มวัยรุ่นได้เจอกับเด็กปริศนาผู้มีพลังจิต ทำให้พวกเขาต้องเข้าไปพัวพันกับเรื่องนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเพื่อนของเขาก็โดนจับไปทดลองกลายเป็นชนวนครั้งใหม่ที่อาจทำให้โลกสลายเป็นจุล


 

อาคิระ เป็นแอนิเมชันที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1988 และมีชื่อเรื่องไทยในตอนนั้นว่า อากิระ คนไม่ใช่คน ภาพยนตร์แอนิเมชันแนวไซเบอร์พังค์ที่ดัดแปลงมาจากต้นฉบับการ์ตูนมังงะ วาดโดยอาจารย์ คัตสึฮิโร โอโตโมะ ซึ่งในฉบับภาพยนตร์ก็ได้อาจารย์คัตสึฮิโรนี่แหละ มารับหน้าที่ผู้กำกับและคุมงานสร้างแอนิเมชันด้วยตัวเอง


ยอมรับแบบหน้าไม่อายเลยว่าแม้ตัวเองจะทำหน้าที่สอนภาพยนตร์ และพยายามดูหนังให้มากที่สุดมาตลอดเวลาเกือบ 35 ปีของชีวิตก็ตาม แต่ก็ยังมีหนังที่เล็ดลอด ตกสำรวจ และไม่อาจไปพูดคุยกับใครเขาได้อยู่หลายเรื่อง และ AKIRA ก็คือหนึ่งในแอนิเมะที่แม้ส่วนตัวจะอยากหามาชมแค่ไหน


แต่ก็มีเหตุให้ต้องคลาดเคลื่อนกันไปทุกที แต่ในเดือน กรกฎาคม ปี 2020 ระยะเวลาร่วม 1 เดือนหลังโรงภาพยนตร์หนังใหม่เต็มเรื่องเปิดทำการในที่สุด วิกฤติก็เปิดโอกาสให้งานคลาสสิกอย่าง AKIRA เข้าโรงฉายและนี่ก็คือจุดสิ้นสุดของข้ออ้างที่ไม่พิสูจน์ความยอดเยี่ยมของหนังอีกต่อไป


ซึ่งในขณะที่หนังเรื่องนี้ออกฉาย การ์ตูนก็ยังไม่จบบริบูรณ์ อนิเมชั่นเรื่องนี้จึงเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการ์ตูนก็ว่าได้และอนิเมชั่นเรื่องนี้ก็ได้รับทุนจากบริษัทนายทุนญี่ปุ่นมากมายรวมกันถึงพันล้านเยน ซึ่งอนิเมชั่นเรื่องนี้ก็ยังสร้างปรากฎการณ์นอกจากเงินทุนที่สูงลิ่ว (ในยุคนั้น) ยังสร้างปรากฏการณ์ในการใช้ภาพวาดมือที่ละเอียดมากถึง 1.6 แสนเฟรม


นั่นคือแตกต่างจากอนิเมชั่นในยุคนั้น ที่รายละเอียดยิบย่อยในฉากจะไม่เปลี่ยนไป เช่น ฉากสนทนา ตัวละครจะขยับแค่ปากเท่านั้น แต่ในเรื่องนี้ ตัวละครจะขยับตัว ขยิบตา ขยับปาก ตามเสียงพากย์ ยังไม่รวมถึงเนื้อหา Cyberpunk และพล๊อตต่างๆที่เป็นต้นแบบให้หนังในยุคนี้หลายๆเรื่อง


เนื้อเรื่อง


โลกใน AKIRA คือกรุงนีโอโตเกียวหลังสงครามโลกครั้งที่ 3 ที่เต็มไปด้วยความเสื่อมทรามหลัก ๆ 3 ประการ ทั้งเสื่อมราษฎร์ คือเต็มไปด้วยอาชญากรรม วัยรุ่นจับกลุ่มตั้งแก๊งมอเตอร์ไซค์ป่วนเมือง ตีรันฟันแทงสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว รวมถึงประชาชนต่างออกมาเรียกร้องเสรีภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่า เสื่อมรัฐ คือรัฐบาลเต็มไปด้วยความฉ้อฉลทั้งนักการเมืองคอรัปชัน


และโครงการลับ ๆ ที่อาศัยช่องทางในการกินงบประมาณโดยไม่สนความถูกต้อง และสุดท้าย เสื่อมศีลธรรม เพราะอาชญากรรมทำให้เกิดท้้งการตีรันฟันแทง ผู้หญิงเสี่ยงถูกดักฉุดไปกระทำชำเรา ไปจนถึงลัทธิประหลาดที่บูชาปีศาจทำลายโลก และสุดท้ายคือบรรดาเด็กกำพร้าที่จะเติบโตกลายเป็นอนาคตที่สิ้นหวังต่อไป


สำหรับ คาเนดะ และ เท็ตสุโอะ ก็คือผลพวงจากความเสื่อมดังกล่าวจะต่างอยู่เพียงในขณะที่คาเนดะมีมาดของหัวโจกรักเพื่อนฝูงและคอยปกป้องเท็ตสุโอะ แต่เท็ตสุโอะเองต่างหากที่กลับอ่อนแอแต่อึดอัดทุกครั้งที่ฝ่ายแรกมาคอยทำตัวเป็นเหมือนฮีโร จนกระทั่งอุบัติเหตุครั้งสำคัญอุบัติขึ้นจนเป็นเหตุให้เท็ตสุโอะต้องถูกรัฐบาลจับตัวไปทดลอง


จนทำให้เขามีพลังอำนาจเหนือมนุษย์ แต่ปัญหาสำคัญคือการที่คนอ่อนแอได้พลังประหนึ่งพระเจ้าและเกินควบคุม ความหวังจึงตกอยู่ที่คาเนดะที่จะต้องกลับมาปราบเท็ตสุโอะก่อนที่เมืองนีโอโตเกียวจะแตกสลายจนวาระสุดท้ายของมนุษย์มาถึง


ส่วนที่ชอบ


ส่วนที่ชอบคือ ด้านภาพอนิเมชั่น ที่เนียนไม่มีที่ติและดูดีมากในสมัยนั้นรวมถึงตอนนี้ เพราะงานภาพวาดมือกว่า 1.6 แสนเฟรมย่อมมีความประณีตที่ซ่อนอยู่ในฉากแต่ละฉาก นั่นรวมถึง ฉากที่มีควัน, รายละเอียดการพูดของตัวละคร, ฉากแอ็คชั่นต่างๆและฉากโหดรุนแรงที่แสนจะมากมายในเรื่อง ก็ทำให้อนิเมชั่นมีความเนียนมากพอสมควร


ส่วนต่อมาก็คือ ฉากแอ็คชั่นต่าง ๆ ที่มีน้อยแต่น่าจดจำมากในหลายๆฉาก นับตั้งแต่ ฉากนั่งมอไซต์ไล่ล่าตอนเปิดเรื่อง, ฉากที่โรงพยาบาลรวมถึงฉากต่อสู้หน้าสนามกีฬาก็ล้วนเป็นฉากแอ็คชั่นที่ทำได้สนุกและน่าตื่นตามาก ๆ ส่วนต่อมาคือ ทางด้านเนื้อเรื่องที่สอดแทรกประเด็นความเชื่อ ประเด็นทางการเมือง ประเด็นคอรัปชั่นผ่านความรุนแรงต่างๆที่ปรากฎในเนื้อเรื่อง รวมถึงส่วนของตัวเอกที่ควบคุมพลังไม่ได้ก็กลายเป็นพล๊อตหลักของหนังไซไฟหลาย ๆ เรื่องในสมัยนี้ เช่น Looper, Chronicle และ Stranger Things


ข้อเสีย


พูด ๆ มาแต่จริง ๆ ก็มีข้อเสีย นั่นก็คือ การตัดสินใจทำ ทั้งๆที่การ์ตูนยังไม่จบดีหรือยังไม่มีข้อสรุปในแบบของหนังสือการ์ตูน มันก็คือการสรุปจบอีกแบบนึงของเรื่องนี้ แต่เท่าที่ดู ก็พบปัญหาหลักๆ นั้นคือ บางสิ่งในหนังนั้นดูรวบรัดไปมาก บางอย่างก็เล่าน้อยเกินไป ใส่เข้ามาแบบไม่มีการย้อนความ


โดยที่ผู้กำกับ (ซึ่งก็คือคนเขียนการ์ตูนเอง) อาจจะติดวิธีการเล่าแบบเดียวกันกับการ์ตูนที่ค่อยๆหยอดข้อมูลเข้ามาเลยเฉลยปมเอา ซึ่งถึงแม้หนังจะเฉลยปมให้ในตอนจบแต่ก็ดูเร่งรัดไปนิด นอกจากนั้น ความรุนแรงในเรื่องก็อาจทำให้อนิเมชั่นเรื่องนี้ไม่ใช่อนิเมชั่นของทุกคนเท่าไหร่ แต่ด้วยเนื้อหา Cyberpunk เมืองพัฒนาแต่สังคมทรามก็ค่อนข้างอนุโลมไปด้วยกันได้


เนื้อหาที่หนักอึ้งพอสมควร


เชื่อว่าหากผมได้ดูตอนยังเด็กคงจะต้องกลายเป็นแอนิเมะที่ตัวเองไม่ชอบแน่ ๆ ด้วยเหตุที่เรื่องราวอันหนักอึ้งมาพร้อมงานภาพที่ไร้ความประนีประนอมจนอาจทำให้เกิดฝันร้ายหรืออาการระคายเคืองกระเพาะ

แต่ในเวลาที่ถูกต้องอย่างปัจจุบันสิ่งที่ค้นพบมีเพียงความน่าทึ่งในหลาย ๆ ส่วน นอกจากเรื่องการจัดงานโอลิมปิกที่ต้องเลื่อนเหมือนในเรื่องหนังออนไลน์แล้ว การเมืองในแอนิเมะเรื่องนี้กลับเป็นเหมือนพิมพ์เขียวของอนาคตอย่างน่าขนลุก


ประเด็นอำนาจและประชาชน


โดยเฉพาะประเด็นอำนาจและพลังวิเศษที่เหมือน อาจารย์ คัตสึฮิโระ โอโตโมะ ผู้ประพันธ์ที่โดดมากำกับหนังเองได้ใช้เป็นกลไกในการเล่าเรื่อง โดยในความเสื่อมเราจะเห็นกลไกอำนาจในหลายส่วน และหลายระดับตั้งแต่ระดับล่างอย่างอำนาจในแต่ละเขตปกครองของเหล่าแก๊งมอเตอร์ไซค์


การรวมตัวกันเพื่ออำนาจต่อรองของประชาชนในการคัดค้านให้รัฐบาลยกเลิกการจัดโอลิมปิกแล้วนำเม็ดเงินมาพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปจนถึงระดับรัฐเองที่ใช้ทั้งทหาร ตำรวจมาต่อกรปะทะประชาชนเพื่อทำลายอำนาจของฝ่ายตรงข้าม


โดยมีเหตุการณ์หลักที่เป็นเหมือนกุญแจสำคัญของเรื่องคือการบ่มเพาะเหล่าเด็กพลังจิตด้วยการทดลองเพื่อหวังใช้เป็นอาวุธสำคัญในการครองอำนาจสูงสุดที่กำลังกลายเป็นจุดที่ตาชั่งเริ่มสั่นคลอน เพราะเป้าประสงค์ของโครงการ อากิระ คือการคุมอำนาจเหนือธรรมชาติมาเป็นทรัพยากรของรัฐและเป็นการเสริมฐานอำนาจของตน

รีวิว Akira

แต่ในเมื่อมนุษย์และพลังวิเศษเมื่อบวกกันแล้วก็ไม่อาจไม่ใช่อะไรที่จะควบคุมได้โดยง่าย และเหมือนความตั้งใจที่หนังผลักภาระของทั้งอสูรกายให้แก่ เท็ตสุโอะ และ ฮีโรนอกคอกให้แก่ คาเนดะ ให้เป็นภาพเปรียบเปรยของวัยรุ่นกับพลังและอนาคตที่จะกำหนดว่ามันจะมืดมนหรือสดใสกันแน่


และไม่ต้องอธิบายอะไรให้ยืดยาวทั้งความรักและห่วงใยของคาเนดะและพลังทำลายล้างของเท็ตสุโอะ ก็คือเสียงของเยาวชนที่ดังไม่ถึงรัฐบาลให้มาช่วยพวกเขา ไม่ต้องไปพูดถึงประเด็นใหญ่อย่างปากท้องแค่การเติบโตมาให้ตัวเองไม่ถูกรังแกยังแทบจะมีความเป็นไปได้เป็นศูนย์


ดังนั้นอำนาจทำลายล้างของเท็ตสุโอะก็คือการส่งเสียงของผู้อ่อนแอในสังคมของรัฐบาลที่ไม่สนใจประชาชน ในขณะเดียวกันหัวใจบริสุทธิ์ของคาเนดะก็คืออีกเสียงของเยาวชนที่เลือกจะเห็นสังคมที่ดีกว่าและอนาคตที่ส่องสว่างมากกว่าความเสื่อมทรามที่กัดกินเมืองนีโอโตเกียวอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน


โดยรวม


แอนิเมชันเรื่องนี้จัดเป็นผลงานที่ให้คำจำกัดความว่า “เหนือกาลเวลา” ได้อย่างไม่เกินเลย กับงานแอนิเมชันคุณภาพสูงที่ผ่านกาลเวลามากว่า 32 ปี ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกถึงความตกยุคหรือล้าสมัยแต่อย่างใด กลับยิ่งทำให้รู้สึกทึ่งในความสร้างสรรค์ที่ในยุคนั้นสามารถสร้างแอนิเมชันที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมายขนาดนี้ได้


เรื่องราวที่เป็นส่วนผสมกันอย่างลงตัว ระหว่างนิยายวิทยาศาสตร์ โลกยุคดิสโทเปีย วิทยาการล้ำสมัย การเมืองและสังคมที่มืดหม่น AKIRA จัดว่าเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญ ที่นิยามคำว่า Cyberpunk ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในยุค 80


สรุป


เชื่อว่าสิ่งที่เขียนไปทั้งหมดคงชัดเจนแล้วว่า AKIRA ไม่ได้เป็นแอนิเมะสำหรับผู้ชมทุกคนแน่ ๆ เพราะหากหวังจะดูการ์ตูนแอ็กชันมันส์ ๆ หรือเรื่องราวแนวฮีโร คุณคงเลือกหนังผิดเรื่องแน่ ๆ แต่หากต้องการพิสูจน์ความยอดเยี่ยมของแอนิเมะที่อยู่เหนือกาลเวลา งานภาพและดนตรีประกอบชั้นครู AKIRA จะกลายเป็นประสบการณ์การชมภาพยนตร์ที่จะติดตรึงที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตแน่ ๆ


หากนำมาดูในสมัยนี้ก็อาจจะไม่ต่างจากหนังตัวเอกที่ควบคุมพลังไม่ได้แบบที่เห็นกันเกร่อในยุคนี้ แต่ด้วยเป็นผลงานที่อายุอานามเกือบ 30 ปี เนื้อหาที่แทรกประเด็นการสังคม, การเมืองและความเชื่อผ่านมุมมอง Cyberpunk พ่วงมาด้วยฉากแอ็คชั่นที่มีน้อยแต่น่าจดจำ รวมถึงภาพอนิเมทล้ำ ๆ ที่วาดด้วยมือแต่ละเอียดมากถึงแสนเฟรม แม้ว่าหนังจะดูรวบรัดเกินไปก็ตามเถอะ

ดู 69 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page